วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

พลเอก สนธิ เป็นบุตรของ พันเอกสนั่น (นามสกุลเดิม อหะหมัดจุฬา) และนางมณี บุญยรัตกลิน ชาวไทยเชื้อสายมอญ เป็นบุตรชายคนโตในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 6 คน เติบโตในครอบครัวมุสลิม ที่นับถือนิกายชีอะห์ ในจังหวัดปทุมธานี (บิดานับถือนิกายชีอะห์) แต่ตัวท่านนับถือศาสนาอิสลาม นิกายซุนนีย์ (มารดานับถือนิกายซุนนีย์) ต้นตระกูล เฉกอะหมัด หรือ เจ้าพระยาบวรราชนายก ขุนนางเชื้อสายเปอร์เซีย ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี และ สมุหนายกในสมัยกรุงศรีอยุธยา ลูกหลานบางส่วนของเฉก อาหมัด เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ เช่น ตระกูลบุนนาค ตระกูลจุฬารัตน์ โดยนามสกุล บุญยรัตกลิน (อ่านว่า บุน-ยะ-รัด-กะ-ลิน) จริงๆแล้วคือ บุณยรัตกลิน แต่พิมพ์ผิดเป็น "ญ" นั้น เป็นนามสกุลพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 มีที่มาจากการที่หนึ่งในสาแหรกฝั่งย่าเป็นทหารเรือ สังกัดพรรคกลิน คือหลวงพินิจกลไก (บุญรอด) มีชื่อทางมุสลิมว่า อับดุลเลาะห์ อหะหมัดจุฬา ได้ฉายาจากสื่อมวลชนทั่วไปว่า "บิ๊กบัง" พลเอก สนธิ มีภรรยาทั้งหมด 3 คน ภรรยาคนแรกชื่อ สุกัญญา จดทะเบียบสมรสขณะที่ พลเอก สนธิยังเป็นพลโท ภรรยาคนที่สองชื่อ ปิยะดา จดทะเบียนสมรสเมื่อเป็นนายพล ภรรยาคนที่สามชื่อ วรรณา ปัจจุบันอาศัยอยู่กับทั้งหมดแม้ว่าการมีภรรยาสามคนจะเป็นเรื่องผิดกฎหมายในประเทศไทยก็ตาม อย่างไรก็ตาม นายอารีย์ วงศ์อารยะ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 พลเอก สนธิกล่าวว่าตนไม่ยื่นแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินของภรรยาคนที่ 3 ต่อ ป.ป.ช. เนื่องจากไม่ได้เกี่ยวข้องกันทางกฎหมาย บุตรที่เกิดกับนางปิยะดา บุญยรัตกลิน มี 2 คน คือ ร.อ.นิธิ บุญยรัตกลิน (ป๊อป) และ นายนิรินทร์ บุญยรัตกลิน (ไปป์) บุตรที่เกิดกับนางวรรณา บุญยรัตกลิน มี 2 คน คือ พ.ต.ต.สุทธิเวท บุญยรัตกลิน และ ร.ท.สุธาวิทย์ บุญยรัตกลิน และบุตรที่เกิดกับนางสุกัญญา บุญยรัตกลิน มี 2 คน คือ นายเอกรินทร์ บุญยรัตกลิน และน.ส.ศศิภา บุญยรัตกลิน (พลอย) การศึกษา พลเอก สนธิศึกษาในระดับประถมและมัธยมที่ โรงเรียนวัดพระศรีมหาธาตุ และศึกษาต่อโรงเรียนเตรียมทหาร (รุ่นที่ 6) และศึกษาต่อ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เหล่าทหารราบ (รุ่นที่ 17) และได้ศึกษาในระดับอุดมศึกษา สำหรับปริญญาโท สาขาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (การทหาร) โรงเรียนเสนาธิการทหารบก สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นที่ 42) และปัจจุบนกำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก สาขารัฐศาสตร์ (สาขาวิชาการเมือง) มหาวิทยาลัยรามคำแหง รุ่นแรกของคณะ โดยมีพลเอก สนธิเป็นประธานรุ่น ที่มีอายุมากที่สุดคือ 63 ปี นอกจากนี้ได้มีหลักสูตรพิเศษอื่น ได้แก่ หลักสูตรส่งทางอากาศและหลักสูตรจู่โจม โรงเรียนศูนย์การทหารราบ หลักสูตรชั้นนายร้อยทหารราบ หลักสูตรสงครามทุ่นระเบิด โรงเรียนศูนย์การทหารช่าง หลักสูตรผู้บังคับหมวดช่างโยธาและกระสุน โรงเรียนศูนย์การทหารราบ หลักสูตรภาษาอังกฤษ โรงเรียนยุทธศึกษาทหารบก หลักสูตรลาดตระเวนระยะไกล โรงเรียนศูนย์การทหารราบ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ 57 การรับราชการ ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบ ศูนย์การทหารราบ ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 2 กองพลอาสาสมัครเสือดำ รองผู้บังคับกองร้อยลาดตระเวนระยะไกลที่ 9 กาญจนบุรี นายทหารคนสนิทแม่ทัพภาคที่ 4 (พล.ท.ปิ่น ธรรมศรี ในขณะนั้น) ผู้บังคับกองพันรบพิเศษที่ 2 กรมรบพิเศษที่ 1 รองผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 รองผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ 1 ผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ 1 รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการทหารบก ประธานคณะกรรมการบริหารจัดการให้เป็นไปตามนโยบายและยุทธศาสตร์เสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ พลเอก สนธิ เป็นนายทหารของหน่วยรบพิเศษ ที่ผ่านการรบด้านการปราบปราม ผกค. ด้าน อ.กุยบุรี และ จ.ปราจีนบุรี รวมถึงการออกไปรบที่ประเทศเวียดนามและกัมพูชา

วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติการปฏิวัติรัฐประหารและกบฎ ประวัติการปฏิวัติรัฐประหารและกบฎ ในประเทศไทย (2475 - 2534) รัฐประหาร 20 มิถุนายน 2476 พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พร้อมด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนคณะหนึ่ง ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศอีกครั้งหนึ่ง เพื่อขอให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลาออกจากตำแหน่งซึ่งเป็นการริดรอนอำนาจภายในคณะราษฏร ที่มีการแตกแยกกันเอง ในส่วนของการใช้อำนาจ ต้องมีมาตรการป้องกันมิให้ใช้อำนาจในทางที่ละเมิดต่อกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและประเทศชาติ เช่น ให้มีศาลคดีการเมือง ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการรัฐสภา สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่มีอิสระอย่างเต็มที่ การประกาศทรัพย์สินของนักการเมืองทุกคนทุกตำแหน่ง การออกกฎหมายผลประโยชน์ขัดกัน ฯล

การปฏิวัติสยาม 2475

การเตรียมการเปลี่ยนแปลง คณะราษฎรได้มีการประชุมเตรียมการหลายครั้ง รวมถึงได้มีการล้มเลิกแผนการบางแผนการ เช่น การเข้ายึดอำนาจในวันพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาซึ่งตรงกับวันที่ 16 มิถุนายน แต่เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง จนกระทั่งสุดท้ายได้ข้อสรุปว่าจะดำเนินการในเช้าวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับที่วังไกลกังวล ทำให้เหลือข้าราชการเพียงไม่กี่คนอยู่ในกรุงเทพ ในการวางแผนดังกล่าวกระทำที่บ้าน ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยมีเป้าหมายสำคัญในการวางแผนควบคุมสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร โดยมีการเลื่อนวันเข้าดำเนินการหลายครั้งเพื่อความพร้อม หลังจากนั้นยังได้มีการประชุมกำหนดแผนการเพิ่มเติมอีกที่บ้านพระยาทรงสุรเดช โดยมีการวางแผนว่าในวันที่ 24 มิถุนายนจะดำเนินการอย่างไร และมีการแบ่งงานให้แต่ละกลุ่ม แบ่งออกเป็น 4 หน่วยด้วยกัน คือ หน่วยที่ 1 ทำหน้าที่ทำลายการสื่อสารและการคมนาคมที่สำคัญ เช่น โทรศัพท์ โทรเลข ดำเนินการโดยทั้งฝ่ายทหารบกและพลเรือน ทหารบกจะทำการตัดสายโทรศัพท์ของทหาร ส่วนโทรศัพท์กลางที่วัดเลียบมี นายควง อภัยวงศ์ นายประจวบ บุนนาค นายวิลาศ โอสถานนท์ ดำเนินการ โดยมีทหารเรือทำหน้าที่อารักขา ส่วนสายโทรศัพท์และสายโทรเลขตามทางรถไฟและกรมไปรษณีย์เป็นหน้าที่ของ หลวงสุนทรเทพหัสดิน หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ เป็นต้น ซึ่งหน่วยนี้ยังรับผิดชอบคอยกันมิให้รถไฟจากต่างจังหวัดแล่นเข้ามาด้วย โดยเริ่มงานตั้งแต่เวลา 06.00 น. หน่วยที่ 2 เป็นหน่วยเฝ้าคุม โดยมากเป็นฝ่ายพลเรือนผสมกับทหาร ทำหน้าที่ควบคุมตัวเจ้านายและบุคคลสำคัญต่าง ๆ เช่น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต จากวังสวนผักกาดมายังพระที่นั่งอนันตสมาคม พระประยุทธอริยั่น จากกรมทหารบางซื่อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการวางแผนให้เตรียมรถยนต์สำหรับลากปืนใหญ่มาตั้งเตรียมพร้อมไว้ โดยทำทีท่าเป็นตรวจตรารถยนต์อีกด้วย โดยหน่วยนี้ดำเนินงานโดย นายทวี บุณยเกตุ นายจรูญ สืบแสง นายตั้ว ลพานุกรม หลวงอำนวยสงคราม เป็นต้น โดยฝ่ายนี้เริ่มงานตั้งแต่เวลา 01.00 น. หน่วยที่ 3 เป็นหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนย้ายกำลัง ซึ่งทำหน้าที่ประสานทั้งฝ่ายทหารบกและทหารเรือ เช่น ทหารเรือจะติดไฟเรือรบ และเรือยามฝั่ง ออกเตรียมปฏิบัติการณ์ตามลำน้ำได้ทันที หน่วยที่ 4 เป็นฝ่ายที่เรียกกันว่า “มันสมอง” มี นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ร่างคำแถลงการณ์ ร่างรัฐธรรมนูญ และหลักกฎหมายปกครองประเทศต่าง ๆ รวมทั้งการเจรจากับต่างประเทศเพื่อทำความเข้าใจภายหลังการปฏิบัติการสำเร็จแล้ว แม้ว่าทางคณะราษฎรจะพยายามที่ทำลายหลักฐานต่าง ๆ แล้ว ยังมีข่าวเล็ดรอดไปยังทางตำรวจ ซึ่งได้ออกหมายจับกลุ่มผู้ก่อการ 4 คน คือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม พ.ต. หลวงพิบูลสงคราม ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี และ นายตั้ว ลพานุกรม อย่างไรก็ตามเมื่อนำเข้าแจ้งแก่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ก็ถูกระงับเรื่องไว้ก่อน เนื่องจากไม่ทรงเห็นว่าน่าจะเป็นอันตราย และให้ทำการสืบสวนให้ชัดเจนก่อน การยึดอำนาจในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร ได้ใช้กลลวง นำทหารบกและทหารเรือมารวมตัวกันบริเวณรอบ พระที่นั่งอนันตสมาคม ประมาณ 2000 คน ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 นาฬิกา โดยอ้างว่าเป็นการสวนสนาม จากนั้นนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้อ่าน ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ ๑ ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เสมือน ประกาศยึดอำนาจการปกครอง ก่อนจะนำกำลังแยกย้ายไปปฏิบัติการต่อไป หลักฐานประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นหมุดทองเหลือง ฝังอยู่กับพื้นถนน บนลานพระบรมรูปทรงม้า ด้านสนามเสือป่า ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์สังคม อาจกล่าวได้ว่า “กบฏ ร.ศ. 130″ เป็นแรงขับดันให้คณะราษฎร ก่อการปฏิบัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยภายหลังการยึดอำนาจแล้ว พระยาพหลพลพยุหเสนาได้เชิญผู้นำการกบฏ ร.ศ. 130 ไปพบและกล่าวกับ ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) ว่า “ถ้าไม่มีคณะคุณ ก็เห็นจะไม่มีคณะผม” และหลวงประดิษมนูธรรมก็ได้กล่าวในโอกาสเดียวกันว่า “พวกผมถือว่าการปฏิวัติครั้งนี้เป็นการกระทำต่อเนื่องจากการกระทำเมื่อ ร.ศ. 130″ …

วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556



ยุคคณะราษฎร
2475 การอภิวัฒน์ 24 มิถุนายน โดย พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ต่อรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
2476 รัฐประหารโดยใช้พระราชกฤษฎีกา งดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา โดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ต่อรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา
2476 รัฐประหาร โดย พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ต่อรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา
2476 กบฎบวรเดช โดย พล.อ.พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช ต่อรัฐบาล พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
2478 กบฎนายสิบ โดย ส.อ.สวัสดิ์ มหะหมัด ต่อรัฐบาล พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
2481 กบฎพระยาสุรเดช โดย พ.อ.พระยาสุรเดช ต่อรัฐบาล พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา

เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2483 มีการนับวันปีใหม่ตามสากลนิยม จากวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 (วันสงกรานต์) หรือปฏิทินเก่า เป็นวันที่ 1 มกราคม (โดยเริ่มจากปี 2484) หรือปฏิทินใหม่ ประกาศโดยรัฐบาลในสมัยของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ดังนั้นในปี 2483 ช่วง 1 มกราคม - วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 จะเป็นช่วงคาบเกี่ยวระหว่าง ปี 2482 (ปฏิทินเก่า) และ ปี 2483 (หากคิดตามปฏิทินใหม่) ก่อนหน้านั้นก็นับเช่นนี้ (เฉพาะช่วง 1 มกราคม จนถึงวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5)

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534


ฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 บางครั้งเรียกว่า เหตุการณ์ รสช. เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ในเวลาบ่าย โดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช.(National Peace Keeping Council - NPKC) ยึดอำนาจจากรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ

พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศจะนำ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก อดีตผู้บัญชาการทหารบก และ รองนายกรัฐมนตรี เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอีกตำแหน่ง ณ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 เวลา 13.00 น.
ในคืนวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก รับประทานอาหารค่ำที่โรงแรมโอเรียนเต็ลห้องใกล้กับที่ พลเอกสุจินดา คราประยูร และนายทหารระดับสูงจำนวนหนึ่งรับประทานอยู่ ในขณะที่ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ พักผ่อนอยู่ที่บ้านพักในซอยราชครู (พหลโยธินซอย 5)
ต่อมาเวลาประมาณ 24.00 น. วิทยุข่ายสามยอดของกองปราบรายงานว่า "ป.๑" อันหมายถึง พลตำรวจตรี เสรี เตมียเวส ผู้บังคับการกองปราบ ได้เดินทางถึงหน่วยคอมมานโด ที่ซอยโชคชัย 4 ลาดพร้าว และสั่งให้กองปราบ "เตรียมพร้อม" เพราะมีข่าวว่าอาจจะมีการปฏิวัติเกิดขึ้น
ในเวลา 04.30 น. นายเวรของ พลตำรวจตรี เสรี เตมียเวส ได้แจ้งยกเลิกการเตรียมดังกล่าวภายหลังจากที่มีการตรวจสอบว่าไม่มีการเคลื่อนกำลังของหน่วยใด
สำหรับการเคลื่อนไหวของบุคคลต่างๆ ในคืนนั้น นอกจาก พลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศที่เดินทางกลับจากราชการที่ประเทศเกาหลีแล้ว ล้วนอยู่ในสภาพปกติทั้งสิ้น
กระทั่งเวลา 06.00 น. ของวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ทุกอย่างยังอยู่ในความสงบ


เดิมทีทหารได้เตรียมการจะจับตัว พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ที่สนามบินกองทัพอากาศ (บน.6) ในเวลา 19.30 น. หลังจากการเข้าเฝ้า พร้อมกับการเคลื่อนกำลังทหารเข้ายึดจุดสำคัญทั่วกรุงเทพมหานคร แต่แผนกลับเปลี่ยนแปลงในเช้าวันนั้น ซึ่งนายทหารที่ร่วมปฏิบัติการส่วนใหญ่เป็นทหารอากาศ
เวลา 11.00 น. พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก เดินทางถึงห้องรับรองพร้อมหน่วยรักษาความปลอดภัยประมาณ 20 นาย ก่อนที่จะขึ้นเครื่องบิน ซี 130 ที่จอดพร้อมอยู่แล้ว ซึ่งนายกรัฐมนตรี พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก นายอนันต์ อนันตกูล เลขาธิการคณะรัฐมนตรีและปลัดกระทรวงมหาดไทยนั่งบริเวณที่นั่งวีไอพี ส่วนหน่วย รปภ. ถูกแยกไปอยู่ตอนท้ายของเครื่อง
ทันทีที่เครื่องซี 130 เคลื่อนตัว ทหารสองนายในชุดซาฟารีสีน้ำตาลก็กระชากปืนจากเอวควบคุมรปภ. ทั้ง 20 คนเอาไว้ พร้อมๆ กับที่เครื่องบินลดความเร็วลงและ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ อยู่ในสภาพถูกควบคุมตัวเรียบร้อย ขณะที่การปฏิบัติการเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ทหารบกจำนวนสองพันก็เคลื่อนออกประจำจุดต่างๆ ที่กำหนดไว้ พลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล ออกจากกองทัพอากาศ สมทบกับ พลเอกสุจินดา คราประยูร พลเรือเอกประพัฒน์ กฤษณจันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ และ พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดออกแถลงการณ์กับประชาชน
ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ยืนยันถึงการล้มล้างรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ว่าได้กระทำการเรียบร้อยสมบูรณ์ในเวลา 11.30 น. วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534และ พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติก็ได้อ่านแถลงการณ์ฉบับที่ ๑ ชี้แจงเหตุผลของการกระทำในเวลาต่อมา
ประการที่ 1 พฤติการณ์ฉ้อราษฎร์บังหลวง คณะผู้บริหารประเทศได้ฉวยโอกาสอาศัยอำนาจตามตำแหน่งหน้าที่ทางการเมืองแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองและพรรคพวกอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน จนเป็นเรื่องปรกติธรรมดาของรัฐมนตรีเกือบทุกคนที่ต้องแสวงหาเงินเพื่อสร้างฐานะความร่ำรวยเป็นฐานอำนาจทางการเมือง ทั้งที่รู้อยู่แก่ใจมีการฉ้อราษฏร์บังหลวงอย่างกว้างขวางในหมู่รัฐมนตรีรวมทั้งข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจระดับสูงบางคนก็ตาม แต่นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลกลับไม่เอาใส่ที่แก้ไขอย่างจริงจังกลับแสดงความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหาด้วยการยืนยันว่า หากพบผู้ใดประพฤติมิชอบให้เอาใบเสร็จมายืนยันด้วย
ประการที่ 2 ข้าราชการการเมือง ใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงราชการประจำผู้ซื่อสัตย์สุจริต ผู้ไม่ยอมตกเป็นเครื่องมือนักการเมือง รับราชการไม่เจริญก้าวหน้า ถูกข่มเหงรังแก หากไม่ยินยอมเป็นพรรคพวก หลายท่านต้องลาออกราชการ
ประการที่ 3 รัฐบาลเป็นเผด็จการทางรัฐสภา นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าพรรครัฐบาลได้ร่วมมือพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล รวมทั้งคณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีบ้านพิษณุโลก ใช้อุบายอันแยบยลทางการเมืองสร้างภาพลวงตาประชาชนว่าเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แล้วพลิกแพลงหาประโยชน์เป็นที่ประจักษ์ชัดโดยทั่วไป แท้จริงแล้วใช้ผลประโยชน์เป็นตัวนำการเมือง ระดับรัฐมนตรีที่ทำหน้าที่บริหาร รวมทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ นำประเทศไปสู่การปกครองระบอบเผด็จการทางรัฐสภาเมื่อเป็นเช่นนี้ การวางตัวบุคคลในตำแหน่งสำคัญทั้งทางการเมืองและข้าราชการประจำจึงตกอยู่กับพรรคพวกนายกรัฐมนตรีทั้งสิ้น เป็นช่องทางที่ก่อให้เกิดการกอบโกยผลประโยชน์ จึงนับว่าเป็นภัยอันตรายอย่างยิ่งต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ประการที่ 4 การทำลายสถาบันทางทหาร ทหารเป็นสถาบันข้าราชการประจำเพียงสถาบันเดียวที่ไม่ยอมตกอยู่ใต้อิทธิพลทางการเมืองของนักการเมือง จากสภาพโดยส่วนรวมทั่วไปจะเห็นว่ารัฐบาลได้เผชิญหน้ากับฝ่ายทหารมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นกรณีลิตเติลดั๊ก รถวิทยุสื่อสารเคลื่อนที่ การไม่ปลด ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง จากการเป็นรัฐมนตรีตามสัญญาสุภาพบุรุษ
ประการที่ 5 การบิดเบือนคดีล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ เมื่อปี 2525 ประมาณ 9 ปีเศษที่ผ่านมา พลตรีมนูญ รูปขจร และพรรคพวกได้บังอาจคบคิดวางแผนทำลายล้างราชวงศ์จักรีเพื่อล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์เปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไปสู่แบบที่ตนเองและคณะได้กำหนดไว้ การวางแผนการชั่วร้ายดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ พลตรีมนูญ รูปขจรและพรรคพวกถึง 43 คนถูกจับกุมในที่สุดและได้รับการช่วยเหลือจากกลุ่มคณะบุคคลที่มีอิทธิพลทางการเมืองให้ได้รับการประกันตัวจนสามารถก่อการปฏิวัติได้อีกสามครั้ง
จากเหตุผลและความจำเป็นทั้งห้าประการ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติไม่สามารถที่จะปล่อยให้ภาวะระส่ำระสายของชาติบ้านเมืองเกิดขึ้นรุนแรงต่อไปอีกได้ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขจึงจำเป็นต้องใช้วิธีการเข้าควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ และคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติจะดำเนินการจัดระบอบการบริหารราชการแผ่นดินให้กลับสุ่สภาพปรกติโดยเร็วที่สุด