วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556



ยุคคณะราษฎร
2475 การอภิวัฒน์ 24 มิถุนายน โดย พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ต่อรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
2476 รัฐประหารโดยใช้พระราชกฤษฎีกา งดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา โดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ต่อรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา
2476 รัฐประหาร โดย พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ต่อรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา
2476 กบฎบวรเดช โดย พล.อ.พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช ต่อรัฐบาล พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
2478 กบฎนายสิบ โดย ส.อ.สวัสดิ์ มหะหมัด ต่อรัฐบาล พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
2481 กบฎพระยาสุรเดช โดย พ.อ.พระยาสุรเดช ต่อรัฐบาล พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา

เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2483 มีการนับวันปีใหม่ตามสากลนิยม จากวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 (วันสงกรานต์) หรือปฏิทินเก่า เป็นวันที่ 1 มกราคม (โดยเริ่มจากปี 2484) หรือปฏิทินใหม่ ประกาศโดยรัฐบาลในสมัยของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ดังนั้นในปี 2483 ช่วง 1 มกราคม - วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 จะเป็นช่วงคาบเกี่ยวระหว่าง ปี 2482 (ปฏิทินเก่า) และ ปี 2483 (หากคิดตามปฏิทินใหม่) ก่อนหน้านั้นก็นับเช่นนี้ (เฉพาะช่วง 1 มกราคม จนถึงวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5)

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534


ฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 บางครั้งเรียกว่า เหตุการณ์ รสช. เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ในเวลาบ่าย โดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช.(National Peace Keeping Council - NPKC) ยึดอำนาจจากรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ

พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศจะนำ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก อดีตผู้บัญชาการทหารบก และ รองนายกรัฐมนตรี เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอีกตำแหน่ง ณ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 เวลา 13.00 น.
ในคืนวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก รับประทานอาหารค่ำที่โรงแรมโอเรียนเต็ลห้องใกล้กับที่ พลเอกสุจินดา คราประยูร และนายทหารระดับสูงจำนวนหนึ่งรับประทานอยู่ ในขณะที่ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ พักผ่อนอยู่ที่บ้านพักในซอยราชครู (พหลโยธินซอย 5)
ต่อมาเวลาประมาณ 24.00 น. วิทยุข่ายสามยอดของกองปราบรายงานว่า "ป.๑" อันหมายถึง พลตำรวจตรี เสรี เตมียเวส ผู้บังคับการกองปราบ ได้เดินทางถึงหน่วยคอมมานโด ที่ซอยโชคชัย 4 ลาดพร้าว และสั่งให้กองปราบ "เตรียมพร้อม" เพราะมีข่าวว่าอาจจะมีการปฏิวัติเกิดขึ้น
ในเวลา 04.30 น. นายเวรของ พลตำรวจตรี เสรี เตมียเวส ได้แจ้งยกเลิกการเตรียมดังกล่าวภายหลังจากที่มีการตรวจสอบว่าไม่มีการเคลื่อนกำลังของหน่วยใด
สำหรับการเคลื่อนไหวของบุคคลต่างๆ ในคืนนั้น นอกจาก พลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศที่เดินทางกลับจากราชการที่ประเทศเกาหลีแล้ว ล้วนอยู่ในสภาพปกติทั้งสิ้น
กระทั่งเวลา 06.00 น. ของวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ทุกอย่างยังอยู่ในความสงบ


เดิมทีทหารได้เตรียมการจะจับตัว พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ที่สนามบินกองทัพอากาศ (บน.6) ในเวลา 19.30 น. หลังจากการเข้าเฝ้า พร้อมกับการเคลื่อนกำลังทหารเข้ายึดจุดสำคัญทั่วกรุงเทพมหานคร แต่แผนกลับเปลี่ยนแปลงในเช้าวันนั้น ซึ่งนายทหารที่ร่วมปฏิบัติการส่วนใหญ่เป็นทหารอากาศ
เวลา 11.00 น. พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก เดินทางถึงห้องรับรองพร้อมหน่วยรักษาความปลอดภัยประมาณ 20 นาย ก่อนที่จะขึ้นเครื่องบิน ซี 130 ที่จอดพร้อมอยู่แล้ว ซึ่งนายกรัฐมนตรี พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก นายอนันต์ อนันตกูล เลขาธิการคณะรัฐมนตรีและปลัดกระทรวงมหาดไทยนั่งบริเวณที่นั่งวีไอพี ส่วนหน่วย รปภ. ถูกแยกไปอยู่ตอนท้ายของเครื่อง
ทันทีที่เครื่องซี 130 เคลื่อนตัว ทหารสองนายในชุดซาฟารีสีน้ำตาลก็กระชากปืนจากเอวควบคุมรปภ. ทั้ง 20 คนเอาไว้ พร้อมๆ กับที่เครื่องบินลดความเร็วลงและ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ อยู่ในสภาพถูกควบคุมตัวเรียบร้อย ขณะที่การปฏิบัติการเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ทหารบกจำนวนสองพันก็เคลื่อนออกประจำจุดต่างๆ ที่กำหนดไว้ พลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล ออกจากกองทัพอากาศ สมทบกับ พลเอกสุจินดา คราประยูร พลเรือเอกประพัฒน์ กฤษณจันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ และ พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดออกแถลงการณ์กับประชาชน
ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ยืนยันถึงการล้มล้างรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ว่าได้กระทำการเรียบร้อยสมบูรณ์ในเวลา 11.30 น. วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534และ พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติก็ได้อ่านแถลงการณ์ฉบับที่ ๑ ชี้แจงเหตุผลของการกระทำในเวลาต่อมา
ประการที่ 1 พฤติการณ์ฉ้อราษฎร์บังหลวง คณะผู้บริหารประเทศได้ฉวยโอกาสอาศัยอำนาจตามตำแหน่งหน้าที่ทางการเมืองแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองและพรรคพวกอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน จนเป็นเรื่องปรกติธรรมดาของรัฐมนตรีเกือบทุกคนที่ต้องแสวงหาเงินเพื่อสร้างฐานะความร่ำรวยเป็นฐานอำนาจทางการเมือง ทั้งที่รู้อยู่แก่ใจมีการฉ้อราษฏร์บังหลวงอย่างกว้างขวางในหมู่รัฐมนตรีรวมทั้งข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจระดับสูงบางคนก็ตาม แต่นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลกลับไม่เอาใส่ที่แก้ไขอย่างจริงจังกลับแสดงความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหาด้วยการยืนยันว่า หากพบผู้ใดประพฤติมิชอบให้เอาใบเสร็จมายืนยันด้วย
ประการที่ 2 ข้าราชการการเมือง ใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงราชการประจำผู้ซื่อสัตย์สุจริต ผู้ไม่ยอมตกเป็นเครื่องมือนักการเมือง รับราชการไม่เจริญก้าวหน้า ถูกข่มเหงรังแก หากไม่ยินยอมเป็นพรรคพวก หลายท่านต้องลาออกราชการ
ประการที่ 3 รัฐบาลเป็นเผด็จการทางรัฐสภา นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าพรรครัฐบาลได้ร่วมมือพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล รวมทั้งคณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีบ้านพิษณุโลก ใช้อุบายอันแยบยลทางการเมืองสร้างภาพลวงตาประชาชนว่าเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แล้วพลิกแพลงหาประโยชน์เป็นที่ประจักษ์ชัดโดยทั่วไป แท้จริงแล้วใช้ผลประโยชน์เป็นตัวนำการเมือง ระดับรัฐมนตรีที่ทำหน้าที่บริหาร รวมทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ นำประเทศไปสู่การปกครองระบอบเผด็จการทางรัฐสภาเมื่อเป็นเช่นนี้ การวางตัวบุคคลในตำแหน่งสำคัญทั้งทางการเมืองและข้าราชการประจำจึงตกอยู่กับพรรคพวกนายกรัฐมนตรีทั้งสิ้น เป็นช่องทางที่ก่อให้เกิดการกอบโกยผลประโยชน์ จึงนับว่าเป็นภัยอันตรายอย่างยิ่งต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ประการที่ 4 การทำลายสถาบันทางทหาร ทหารเป็นสถาบันข้าราชการประจำเพียงสถาบันเดียวที่ไม่ยอมตกอยู่ใต้อิทธิพลทางการเมืองของนักการเมือง จากสภาพโดยส่วนรวมทั่วไปจะเห็นว่ารัฐบาลได้เผชิญหน้ากับฝ่ายทหารมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นกรณีลิตเติลดั๊ก รถวิทยุสื่อสารเคลื่อนที่ การไม่ปลด ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง จากการเป็นรัฐมนตรีตามสัญญาสุภาพบุรุษ
ประการที่ 5 การบิดเบือนคดีล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ เมื่อปี 2525 ประมาณ 9 ปีเศษที่ผ่านมา พลตรีมนูญ รูปขจร และพรรคพวกได้บังอาจคบคิดวางแผนทำลายล้างราชวงศ์จักรีเพื่อล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์เปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไปสู่แบบที่ตนเองและคณะได้กำหนดไว้ การวางแผนการชั่วร้ายดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ พลตรีมนูญ รูปขจรและพรรคพวกถึง 43 คนถูกจับกุมในที่สุดและได้รับการช่วยเหลือจากกลุ่มคณะบุคคลที่มีอิทธิพลทางการเมืองให้ได้รับการประกันตัวจนสามารถก่อการปฏิวัติได้อีกสามครั้ง
จากเหตุผลและความจำเป็นทั้งห้าประการ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติไม่สามารถที่จะปล่อยให้ภาวะระส่ำระสายของชาติบ้านเมืองเกิดขึ้นรุนแรงต่อไปอีกได้ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขจึงจำเป็นต้องใช้วิธีการเข้าควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ และคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติจะดำเนินการจัดระบอบการบริหารราชการแผ่นดินให้กลับสุ่สภาพปรกติโดยเร็วที่สุด



รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534


รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 บางครั้งเรียกว่า เหตุการณ์ รสช. เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ในเวลาบ่าย โดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช.(National Peace Keeping Council - NPKC) ยึดอำนาจจากรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศจะนำ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก อดีตผู้บัญชาการทหารบก และ รองนายกรัฐมนตรี เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอีกตำแหน่ง ณ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 เวลา 13.00 น.

ในคืนวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก รับประทานอาหารค่ำที่โรงแรมโอเรียนเต็ลห้องใกล้กับที่ พลเอกสุจินดา คราประยูร และนายทหารระดับสูงจำนวนหนึ่งรับประทานอยู่ ในขณะที่ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ พักผ่อนอยู่ที่บ้านพักในซอยราชครู (พหลโยธินซอย 5)
ต่อมาเวลาประมาณ 24.00 น. วิทยุข่ายสามยอดของกองปราบรายงานว่า "ป.๑" อันหมายถึง พลตำรวจตรี เสรี เตมียเวส ผู้บังคับการกองปราบ ได้เดินทางถึงหน่วยคอมมานโด ที่ซอยโชคชัย 4 ลาดพร้าว และสั่งให้กองปราบ "เตรียมพร้อม" เพราะมีข่าวว่าอาจจะมีการปฏิวัติเกิดขึ้น
ในเวลา 04.30 น. นายเวรของ พลตำรวจตรี เสรี เตมียเวส ได้แจ้งยกเลิกการเตรียมดังกล่าวภายหลังจากที่มีการตรวจสอบว่าไม่มีการเคลื่อนกำลังของหน่วยใด
สำหรับการเคลื่อนไหวของบุคคลต่างๆ ในคืนนั้น นอกจาก พลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศที่เดินทางกลับจากราชการที่ประเทศเกาหลีแล้ว ล้วนอยู่ในสภาพปกติทั้งสิ้น
กระทั่งเวลา 06.00 น. ของวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ทุกอย่างยังอยู่ในความสงบเดิมทีทหารได้เตรียมการจะจับตัว พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ที่สนามบินกองทัพอากาศ (บน.6) ในเวลา 19.30 น. หลังจากการเข้าเฝ้า พร้อมกับการเคลื่อนกำลังทหารเข้ายึดจุดสำคัญทั่วกรุงเทพมหานคร แต่แผนกลับเปลี่ยนแปลงในเช้าวันนั้น ซึ่งนายทหารที่ร่วมปฏิบัติการส่วนใหญ่เป็นทหารอากาศ
เวลา 11.00 น. พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก เดินทางถึงห้องรับรองพร้อมหน่วยรักษาความปลอดภัยประมาณ 20 นาย ก่อนที่จะขึ้นเครื่องบิน ซี 130 ที่จอดพร้อมอยู่แล้ว ซึ่งนายกรัฐมนตรี พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก นายอนันต์ อนันตกูล เลขาธิการคณะรัฐมนตรีและปลัดกระทรวงมหาดไทยนั่งบริเวณที่นั่งวีไอพี ส่วนหน่วย รปภ. ถูกแยกไปอยู่ตอนท้ายของเครื่อง
ทันทีที่เครื่องซี 130 เคลื่อนตัว ทหารสองนายในชุดซาฟารีสีน้ำตาลก็กระชากปืนจากเอวควบคุมรปภ. ทั้ง 20 คนเอาไว้ พร้อมๆ กับที่เครื่องบินลดความเร็วลงและ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ อยู่ในสภาพถูกควบคุมตัวเรียบร้อย ขณะที่การปฏิบัติการเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ทหารบกจำนวนสองพันก็เคลื่อนออกประจำจุดต่างๆ ที่กำหนดไว้ พลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล ออกจากกองทัพอากาศ สมทบกับ พลเอกสุจินดา คราประยูร พลเรือเอกประพัฒน์ กฤษณจันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ และ พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดออกแถลงการณ์กับประชาชน


วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

สาเหตุการเกิดรัฐประหาร



สาเหตุของการรัฐประหารสืบเนื่องจากความแตกแยกกันระหว่างกลุ่มทหาร ที่นำโดย พล.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก กับ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ ที่ค้ำอำนาจของรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม
การเลือกตั้งทั่วไปที่เกิดขึ้นในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ไม่อาจทำให้ประชาชนยอมรับในผลได้ เนื่องจากเป็นการเลือกตั้งที่นับได้ว่ามีการโกงกันมากที่สุดในประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่ ใช้เครื่องบินโปรยใบปลิวโจมตีฝ่ายตรงข้าม ข่มขู่ชาวบ้าน ประชาชน ให้เลือกแต่ผู้สมัครของพรรคเสรีมนังคศิลาของรัฐบาล หรือ การเวียนเทียนมาลงคะแนน การสลับหีบบัตร การแอบหย่อนบัตรคะแนนเถื่อนเข้าไปในหีบ และต้องใช้เวลานับคะแนนกันนานถึง 7 วัน ด้วยกัน ผลการเลือกตั้ง พรรคเสรีมนังคศิลา ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เสียงข้างมาก ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ พรรคฝ่ายค้านคู่แข่งได้เพียง 5 ที่นั่ง เท่านั้น
2 มีนาคม นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประชาชนร่วมกันเดินขบวนประท้วงการเลือกตั้ง มีการลดธงเหลือแค่ครึ่งเสาเป็นการไว้อาลัย และเรียกร้องให้ พล.อ.ท.มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ ซึ่งเป็น ส.ส.สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา ลาออกจากตำแหน่งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จอมพล ป. นายกรัฐมนตรี สั่งประกาศภาวะฉุกเฉิน และแต่งตั้งให้ พล.อ.สฤษดิ์ เป็นผู้ปราบปรามการชุมนุม แต่เมื่อฝูงชนเดินทางมาถึงสะพานมัฆวานรังสรรค์แล้ว พล.อ.สฤษดิ์กลับเข้าร่วมเดินขบวนกับประชาชนด้วย และเมื่อถึงหน้าทำเนียบรัฐบาลได้เป็นผู้เปิดประตูทำเนียบ นำพาประชาชนเข้าพบ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อได้เจรจาจนได้ข้อสรุปว่า จอมพล ป. ยอมรับว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ชอบมาพากลและจะจัดการเลือกตั้งขึ้นใหม่ จึงได้พูดผ่านโทรโข่งขอให้ผู้ชุมนุมสลายตัวไปอย่างสงบ และขอให้อัญเชิญธงขึ้นสู่ยอดเสาตามปกติ ซึ่งก็ได้เป็นไปตามอย่างที่ พล.อ.สฤษดิ์ ร้องขอทุกประการ ซึ่งการเดินขบวนประท้วงครั้งนี้นับเป็นการชุมนุมทางการเมืองเป็นครั้งแรกของประชาชนชาวไทยนับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา
สภาพโดยทั่วไปแล้วในเวลานั้น สภาพบ้านเมืองตกอยู่ในภาวะของความวุ่นวาย นักเลง อันธพาล อาละวาดป่วนเมืองราวกับไม่เกรงกฎหมาย ทั้งนี้ เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า ที่เหล่าอันธพาลสามารถกระทำการได้โดยได้ใจนั้น เป็นเพราะมีตำรวจ โดย พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจให้การสนับสนุนอยู่ และจากนั้นมา ทหารและตำรวจก็เกิดความแตกแยกกัน โดยไฮปาร์คโจมตีกันบนลังสบู่ที่ท้องสนามหลวงสลับกันวันต่อวัน ในบางครั้ง ทหารชั้นประทวนก็ยกพวกล้อมสถานีตำรวจจนเกิดเหตุทำร้ายร่างกายตำรวจบ้าง แต่ก็ไม่เกิดเหตุรุนแรงมากไปกว่านั้น
14 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันครบรอบวันเกิด 60 ปี ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม พล.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้าอวยพรวันเกิดและนำลูกสุนัขตัวหนึ่งมอบให้เป็นของขวัญ พร้อมกล่าวว่าจะจงรักภักดีต่อจอมพล ป. เช่นเดียวกับสุนัขตัวนี้ เพื่อเป็นการสยบความขัดแย้ง
15 กันยายน พล.อ.สฤษดิ์ และคณะนายทหารในบังคับบัญชา ได้มีแถลงการณ์ขอให้ จอมพล ป. ลาออก และ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ลาออกจากตำแหน่งทั้งหมด ซึ่งหลังจากแถลงการณ์อันนี้ออกมาแล้ว มีรายงานที่เชื่อถือได้ว่า สมาชิกพรรคเสรีมนังคศิลาเสนอให้ จอมพล ป. จัดการอย่างเด็ดขาดกับ พล.อ.สฤษดิ์ และกลุ่มทหารในวันพรุ่งนี้ เท่ากับเป็นการบีบบังคับให้ พล.อ.สฤษดิ์ ตัดสินใจอย่างแน่นอนในการทำรัฐประหารเพื่อเป็นการตัดหน้า

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน



พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ครั้งหนึ่งเคยก้าวสู่ตำแหน่งสูงส่งในกองทัพ เป็น "ผู้บัญชาการทหารบก" อันเป็นวาสนาที่มีนายทหารน้อยนักกล้าจะฝันถึง ทว่าตำแหน่งอันยิ่งใหญ่นั้นกลับนำมาซึ่งแรงกดดันให้เขาต้องทะยานต่อไปในเส้นทางอำนาจ อาจจะเป็นเพราะแรงทะเยอทะยานในใจของเขาเอง หรืออาจจะเป็นเพราะบางคำสั่งที่ปฏิเสธไม่ได้ หรือรวมๆ กันไปทั้งสองอย่าง



เมื่อประชาชนกลุ่มหนึ่งลุกขึ้นต่อต้านรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พล.อ.สนธิ ผู้บัญชาการทหารบก นำกองทัพทำการปฏิวัติยึดอำนาจจากรัฐบาล ตั้งตัวเองเป็นประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ตั้งรัฐบาลขึ้นมาครองอำนาจ หลังจากนั้น ก่อเกิดวิกฤตมากมายในสังคมไทย จากการต่อสู้ของฝ่ายที่เชื่อมั่นในประชาธิปไตยกับฝ่ายที่ยืนอยู่ข้างอำนาจแบบเผด็จการ


ประชาชนบาดเจ็บ ล้มตายมากมายทั้ง 2 ฝ่าย ชะตากรรมมนุษย์มักประหลาดเหลือเชื่อเสมอมา ผู้นำอำนาจเผด็จการก่อการปฏิวัติแทบไม่ได้รับมอบบารมีอันใดเลยจากกลุ่มผู้นิยมอำนาจเผด็จการ เมื่อพ้นจากเก้าอี้ใหญ่ในกองทัพ พล.อ.สนธิต้องหันเข้าแอบอิงฝ่ายประชาธิปไตยนำทุนรอนที่เหลืออยู่บ้างมาตั้งพรรคการเมือง ด้วยเสียงเล่าลือว่า เพื่อเกาะขอนไม้สุดท้ายแห่งอำนาจไว้ป้องกันตัวเองจากผลแห่งพฤติกรรมที่ผ่านมา



จากผลของการเมืองที่ทำลายล้างกันรุนแรงจนก่อให้เกิดความคั่งแค้นระอุในทุกฝ่ายที่ถูกกระทำ แต่ดูเหมือนว่าแค่ตำแหน่งหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีสมาชิกเป็น ส.ส.ไม่กี่คน ไม่ได้ทำให้รู้สึกปลอดภัยจากการตอบโต้ล้างแค้น ที่สุดแล้วทางออกแห่งการรักษาตัวของ พล.อ.สนธิเลือกเดินคืออาสาเป็นผู้ถือธงนำการปรองดองในนามประธานกรรมาธิการ เพื่อศึกษาแนวทางการปรองดอง ที่อาจจะนำมาซึ่งการโละทิ้งความผิด


ซึ่งอาจจะหมายถึงพฤติกรรมของเขาด้วย การเยียวยาอดีตของตัวเองให้ตัวอยู่ในปัจจุบันได้อย่างปลอดภัยสำหรับอดีตผู้นำปฏิวัติทำได้แค่นั้น ทว่าเป็นแค่นั้นที่ต้องแลกกับเกียรติยศ เกียรติภูมิมหาศาล เกียรติแห่งชีวิตที่สร้างมาตั้งแต่หนุ่มถึงวัยบั้นปลายถูกนำไปชดใช้จนแทบไม่เหลือหลอ



ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพูดถึงแนวทางการปรองดองที่เขาเป็นประธานคณะกรรมาธิการผู้นำเสนอ มีการอภิปรายโจมตีกันอย่างดุเดือดเข้มข้น ขุดรื้ออดีตของแต่ละฝ่ายมาโจมตีกันชนิดไม่ยอมให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเหลือซากแห่งความดีงาม


ผู้ที่โดนหนักสุดกลับเป็น พล.อ.สนธิ โดนจากทั้งสองฝ่าย โดนทั้งขึ้นทั้งล่อง ทั้งจากพรรคเพื่อไทย ที่กล่าวหาว่า เป็นต้นเหตุของการเปิดทางให้อำนาจนอกระบบเข้ามายึดครองประเทศ จนนำมาซึ่งการเข่นฆ่าประชาชน โดนทั้งจากพรรคประชาธิปัตย์ ที่มองว่าถูกซื้อตัวไปรับใช้นักการเมืองฝ่ายที่ต้องการนิรโทษกรรมตัวเอง



การชี้แจงของ พล.อ.สนธิเป็นไปอย่างกล้อมแกล้มขอไปที สะท้อนถึงอาการหมดสภาพ ไร้ซึ่งความยอมรับนับถือไม่ว่าจะเป็นจากฝ่ายใด หากว่านี่คือบทอวสานของปฏิบัติการ "ลับ ลวง พราง" น่าจะเป็นอวสานที่ประวัติศาสตร์การเมืองไทยจะบันทึกไว้ และให้บทสรุปได้ชัดเจนยิ่ง ในชะตากรรมของผู้นำปฏิวัติในยุคสมัยที่ทั้งโลกมุ่งเดินหน้าไปในวิถีประชาธิปไตย


ใครที่เรียนรู้บทเรียนนี้ไปเตือนใจตัวเอง จะคือผู้ที่ยืนอยู่ได้ แต่ใครที่ยังหลงว่า ยังเผด็จการได้ในประเทศไทย เขาน่าจะเป็นผู้เดินซ้ำในตำนานอันสะบักสะบอมของ พล.อ.สนธิ 


วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

ประวัติศาสตร์การเมืองไทย บนเส้นทางสายปฏิวัติ



ประวัติศาสตร์การเมืองไทย บนเส้นทางสายปฏิวัติ

ประวัติศาสตร์การเมืองไทย บนเส้นทางสายปฏิวัติ
บนเส้นทางอันยาวนานของประวัติศาสตร์การเมืองไทย มีหลายต่อหลายครั้งที่เกิดเหตุการณ์หักเหออกจากเส้นทางตามระบอบประชาธิปไตย มีการใช้กำลังทางทหารยึดอำนาจทางการเมืองโดยการปฏิวัติ รัฐประหาร และปฏิรูปหลายต่อหลายครั้ง บ้างสำเร็จ บ้างล้มเหลว แต่ก็สร้างผลสะเทือนต่อโฉมหน้าการเมืองไทยมิใช่น้อย

"ผู้จัดการปริทรรศน์" จะพาไปย้อนรอยเส้นทางการปฏิวัติในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทย ก่อนมาถึงฉากสุดท้ายของการโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ"

ย้อนรอย 'ทหาร' ผู้ก่อการ

'กบฏ ปฏิวัติ รัฐประหาร' โดยสาระสำคัญแล้ว การทำรัฐประหาร คือการใช้กำลังอำนาจเข้าเปลี่ยนแปลงอำนาจของรัฐ โดยมากมักจะเปลี่ยนแปลงเฉพาะเพียงรัฐบาล แต่หากรัฐบาลใหม่ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองโดยสิ้นเชิงถือเป็นการ 'ปฏิวัติ' และหากการยึดอำนาจครั้งนั้นสำเร็จ จะเรียกว่า 'รัฐประหาร' แต่หากไม่สำเร็จ จะเรียกว่า 'กบฏ'

เมื่อสืบย้อนไปยังหน้าประวัติศาสตร์เก่าๆ ของการเมืองไทย จะพบว่ามีการกระทำที่เข้าข่ายในลักษณะการปฏิวัติรัฐประหารมาตั้งแต่ก่อนสมัยที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียอีก

เหตุการณ์กบฏ ร.ศ.130 ในปี พ.ศ.2454 สมัยรัชกาลที่ 6 เสวยราชย์ได้เป็นปีที่ 2 มีคณะนายทหารที่เรียกว่า ‘คณะ 130’ (ตรงกับรัตนโกสินทร์ศก 130) ร่วมกันคิดการอันเป็นภัยต่อราชวงศ์ โดยซ่องสุมและคบคิดกันที่บริเวณย่านแพร่งสรรพศาสตร์ ซึ่งต่อมานายทหารกลุ่มนี้ก็ถูกจับกุมได้เสียก่อนลงมือกระทำการ คณะ 130 ถูกพิพากษาโทษลดหลั่นกันไป แต่ภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานอภัยโทษทั้งหมด

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475 โดยคณะราษฎรที่ทำการปฏิวัติการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นประชาธิปไตยได้เพียงปีเดียว ปีต่อมาวันที่ 20 มิถุนายน 2476 คณะราษฎรที่นำโดย พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย นับเป็นการกระทำรัฐประหารครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ด้วยการเปลี่ยนรัฐบาลและยึดอำนาจภายในกลุ่มคณะราษฎรด้วยกันเอง

ในเดือนตุลาคม 2476 กองทัพจากหัวเมืองนำโดยพลเอก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชกฤดากร ในนามของ "คณะกู้บ้านเมือง" ยกทัพลงมาประชิดพระนคร และเข้ายึดสนามบินดอนเมือง เพื่อกดดันรัฐบาลของพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาที่มีแนวโน้มจะเป็นเผด็จการทหาร และถวายพระราชอำนาจคืนแก่พระมหากษัตริย์ เพื่อให้ทรงพระราชทานการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันแท้จริงให้แก่ทวยราษฎร์ ทว่าทางฝ่ายรัฐบาลไม่ยินยอม มีการปะทะกันหลายแห่ง การนำทัพของพระองค์เจ้าบวรเดชเข้ามาล้มล้างรัฐบาล โดยเคลื่อนทัพมาจากนครราชสีมา สู้รบกันที่ทุ่งบางเขนจนถูกฝ่ายรัฐบาลปราบปรามได้เด็ดขาด ได้กลายเป็นการกบฏ จนภายหลังเป็นที่รู้จักกันในนาม "กบฏบวรเดช"

"กบฏนายสิบ" เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2478 ทหารชั้นประทวนในกองพันต่างๆ ซึ่งมีสิบเอกสวัสดิ์ มหะมัด เป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันก่อการเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยจะสังหารนายทหารในกองทัพบก และจับพระยาพหลพลพยุหเสนาฯ และหลวงพิบูลสงครามไว้เป็นประกัน รัฐบาลสามารถจับกุมผู้คิดก่อการเอาไว้ได้ หัวหน้าฝ่ายกบฏถูกประหารชีวิต โดยการตัดสินของศาลพิเศษในระยะต่อมา

กบฏที่โด่งดังที่สุดอีกครั้งหนึ่งคือ "กบฏพระยาทรงสุรเดช" เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2482 ผู้ที่คิดล้มล้างรัฐบาล เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้กลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดังเดิม ซึ่งหากทำสำเร็จจะนับเป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่ของการเมืองไทย นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ และได้ให้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร

ต่อมาคณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมี พลโทผิน ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้าสำคัญ ได้เข้ายึดอำนาจรัฐบาล ซึ่งมีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ แล้วมอบให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลต่อไป ขณะเดียวกัน ได้แต่งตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย การยึดอำนาจครั้งนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490

ในปีถัดมา นับเป็นปีที่การเมืองไทยมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยที่สุด เริ่มตั้งแต่ต้นปีได้มี กบฏแบ่งแยกดินแดน ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2491 จะมีการจับกุมส.ส.ของภาคอีสานหลายคน เช่น นายทิม ภูมิพัฒน์, นายถวิล อุดล, นายเตียง ศิริขันธ์, นายฟอง สิทธิธรรม โดยกล่าวหาว่าร่วมกันดำเนินการฝึกอาวุธ เพื่อแบ่งแยกดินแดนภาคอีสานออกจากประเทศไทย แต่รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการจับกุมได้ เนื่องจากสมาชิกผู้แทนราษฎรมีเอกสิทธิทางการเมือง

เพียงหนึ่งเดือนเศษหลังจากนั้น คือวันที่ 6 เมษายน 2491 คณะนายทหารซึ่งทำรัฐประหารเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 ได้บังคับให้นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แล้วมอบให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้าดำรงตำแหน่งต่อไป และนำมาสู่ "กบฏเสนาธิการ" 1 ตุลาคม 2491 ซึ่งพลตรีสมบูรณ์ ศรานุชิต และพลตรีเนตร เขมะโยธิน เป็นหัวหน้าคณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง วางแผนที่จะเข้ายึดอำนาจการปกครอง และปรับปรุงกองทัพจากความเสื่อมโทรม และได้ให้ทหารเข้าเล่นการเมืองต่อไป แต่รัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ทราบแผนการ และจับกุมผู้คิดกบฏได้สำเร็จ

26 มิถุนายน 2492 นายปรีดี พนมยงค์ กับคณะนายทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังเข้ายึดพระบรมมหาราชวัง และตั้งเป็นกองบัญชาการ ประกาศถอดถอน รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายทหารผู้ใหญ่หลายนาย พลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการปราบปราม มีการสู้รบกันในพระนครอย่างรุนแรง รัฐบาลสามารถปราบฝ่ายก่อการกบฏได้สำเร็จ นายปรีดี พนมยงค์ ต้องหลบหนีออกนอกประเทศอีกครั้งหนึ่ง ความพยายามยึดอำนาจครั้งนั้นถูกเรียกว่า "กบฏวังหลวง"

29 มิถุนายน 2494 เกิดกบฏแมนฮัตตัน นาวาตรีมนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือรบหลวงสุโขทัยใช้ปืนจี้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปกักขังไว้ในเรือรบศรีอยุธยา นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา หัวหน้าผู้ก่อการได้สั่งให้หน่วยทหารเรือมุ่งเข้าสู่พระนครเพื่อยึดอำนาจ และประกาศตั้งพระยาสารสาสน์ประพันธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดการสู้รบกันระหว่างทหารเรือ กับทหารอากาศ จอมพล ป. พิบูลสงคราม สามารถหลบหนีออกมาได้ และฝ่ายรัฐบาลได้ปรามปรามฝ่ายกบฏจนเป็นผลสำเร็จ และในวันที่ 29 พฤศจิกายนของปีเดียวกัน จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจตนเอง เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมเสียงข้างมากในรัฐสภาได้

ในยุคที่โลกตกอยู่ในภาวะสงครามเย็น และประเทศไทยเป็นยุคของอัศวินตำรวจ รัฐบาลที่ได้อำนาจมาจากการกระทำรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 นับเป็นรัฐบาลทหารที่ประกาศเดินหน้าดำเนินโยบายทำสงครามกับฝ่ายคอมมิวนิสต์อย่างเต็มที่ ด้วยการรื้อฟื้นกฎหมายคอมมิวนิสต์ 2495 และกวาดจับผู้มีความคิดเห็นแตกต่างจากรัฐบาลครั้งใหญ่ที่รู้จักกันในนาม "กบฏสันติภาพ" ในปี พ.ศ.2497

16 กันยายน 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารนำกำลังเข้ายึดอำนาจของรัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ภายหลังจากเกิดการเลือกตั้งสกปรก และรัฐบาลได้รับการคัดค้านจากประชาชนอย่างหนัก จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ต้องหลบหนีออกไปนอกประเทศ

"กงล้อประวัติศาสตร์การเมืองไทยได้หมุนกลับหลังไปอีกแล้ว" แคล้ว นรปติ ผู้อาวุโสทางการเมือง ได้กล่าวถึงสภาพการณ์ภายหลังการปฏิวัติเงียบของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501 เมื่อคณะปฏิวัติได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง และให้สภาผู้แทน และคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง

17 พฤศจิกายน 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ทำการรัฐประหารตัวเอง ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขึ้นทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ และให้ร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายในระยะเวลา 3 ปี

จุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์เดือนตุลา

การปฏิวัติโดยประชาชน 14 ตุลาคม 2516 นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เมื่อการเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษา และประชาชนกลุ่มหนึ่งได้แผ่ขยายกลายเป็นพลังประชาชนจำนวนมาก จนเกิดการปะทะสู้รบกันระหว่างรัฐบาลกับประชาชน เป็นผลให้จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์ กิตติขจร ต้องหลบหนีออกนอกประเทศ

ทว่าดอกไม้ประชาธิปไตยที่กำลังเบ่งบานก็ต้องหยุดชะงักลง เมื่อพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ และคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน 6 ตุลาคม 2519 เนื่องจากเกิดการจลาจล และรัฐบาลพลเรือนในขณะนั้นยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยทันที คณะปฏิวัติได้ประกาศให้มีการปฏิวัติการปกครอง และมอบให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งต่อมาพลเรือเอกสงัดก็ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลของนายธานินทร์ในวันที่ 20 ตุลาคม 2520

กบฏ 26 มีนาคม 2520 พลเอกฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังทหารจากกองพลที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี เข้ายึดสถานที่สำคัญ ฝ่ายทหารของรัฐบาลพลเรือน ภายใต้การนำของ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ได้ปราบปรามฝ่ายกบฏเป็นผลสำเร็จ พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2520

กบฏยังเติร์ก 1 เมษายน 2524 พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา ด้วยความสนับสนุนของคณะนายทหารหนุ่มโดยการนำของพันเอกมนูญ รูปขจร และพันเอกประจักษ์ สว่างจิตร ได้พยายามใช้กำลังทหารในบังคับบัญชาเข้ายึดอำนาจปกครองประเทศ ซึ่งมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเกิดความแตกแยกในกองทัพบก แต่การปฏิวัติล้มเหลว ฝ่ายกบฏยอมจำนนและถูกควบคุมตัว พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา สามารถหลบหนีออกไปนอกประเทศได้ ต่อมารัฐบาลได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการกบฏในครั้งนี้

รัฐประหารชั่วโมงเดียวของ รสช.

การรัฐประหารที่อยู่ในความทรงจำอันแจ่มชัดของคนไทยที่สุด เห็นจะเป็นการรัฐประหารของคณะรสช. หรือคณะกรรมการรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 ภายใต้การนำของพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ เพราะผลพวงที่ติดตามมาจากการรัฐประหารครานั้นได้กลายเป็นบาดแผลฉกรรจ์ทางการเมืองไทยโดยไม่มีใครคาดคิด

ภายหลังจากที่ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ประกาศจะนำ พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก อดีตผู้บัญชาการทหารบกและรองนายกรัฐมนตรีเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมอีกตำแหน่ง นับเป็นการจุดกระแสความไม่พอใจต่อทั้งกลุ่มนายทหารและนักการเมืองหลายฝ่าย

โดยกำหนดการเข้าเฝ้าคือเวลา 13.00 น. ของวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 แต่ในคืนวันที่ 22 ก.พ. เวลาประมาณเที่ยงคืน ได้มีรายงานจากวิทยุข่ายสามยอดของกองปราบปรามรายงานว่า ‘ป.1’ อันหมายถึง พล.ต.ต.เสรี เตมียเวส ผู้บังคับการกองปราบได้เดินทางถึงหน่วยคอมมานโด ที่ซอยโชคชัย ลาดพร้าว และสั่งให้กองปราบเตรียมพร้อม เพราะมีข่าวว่าอาจมีการปฏิวัติเกิดขึ้น ทว่าภายหลังได้มีการแจ้งยกเลิกการเตรียมดังกล่าว เพราะตรวจสอบไม่พบความเคลื่อนไหวของหน่วยกำลังใดในคืนนั้น

และยังมีรายงานด้วยว่าในคืนดังกล่าวพล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก ได้ไปรับประทานอาหารค่ำที่โรงแรมโอเรียนเต็ล ห้องใกล้เคียงกับที่ พล.อ.สุจินดา คราประยูร และนายทหารระดับสูงจำนวนหนึ่ง ไปรับประทานอยู่ด้วยเช่นกัน โดยภายหลัง พล.อ.สุจินดา คราประยูร ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ว่า ใช้เวลาตัดสินใจเพียงแค่ชั่วโมงเดียว!

จากบทความ 1 ปี รสช. โดยวุฒิชาติ ชุ่มสนิท หรือบินหลา สันกาลาคีรี อดีตนักข่าวหนังสือพิมพ์ข่าวสดรายงานว่า เดิมทีทหารเตรียมการจะจับตัว พล.อ.ชาติชาย และพล.อ.อาทิตย์ ที่สนามบินกองทัพอากาศ (บน.6) ในเวลา 19.30 น. ภายหลังจากการเข้าเฝ้า พร้อมกับการเคลื่อนกำลังทหารเข้ายึดจุดสำคัญทั่วกรุงเทพฯ แต่แผนกลับเปลี่ยนแปลงในเช้าวันนั้น

นายทหารที่ร่วมปฏิบัติการอันเป็นแผนที่เปลี่ยนโฉมหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยไปตลอดกาล ในเวลา 11 นาฬิกาของเช้าวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 นั้น ส่วนใหญ่เป็นทหารอากาศ เมื่อ พล.อ.ชาติชาย และพล.อ.อาทิตย์ เดินทางถึงห้องรับรองพร้อมหน่วยรักษาความปลอดภัยประมาณ 20 นาย ก่อนที่จะขึ้นเครื่องบินซี 130 ที่จอดพร้อมอยู่แล้ว ทั้งสองได้ถูกแยกไปนั่งบริเวณที่นั่งวีไอพี ส่วนหน่วย รปภ.ถูกแยกไปอยู่ตอนท้ายเครื่อง

ทันทีที่เครื่องบินซี 130 เคลื่อนตัว ทหารสองนายในชุดซาฟารีสีน้ำตาลก็กระชากปืนพกจากเอว ควบคุม รปภ.ทั้ง 20 คนเอาไว้ เครื่องบินลดความเร็วลง พล.อ.ชาติชายถูกควบคุมตัว การปฏิบัติการเป็นไปตามแผนที่วางไว้ การปฏิวัติสำเร็จแล้ว !

จากนั้น ทหารบกจำนวน 2 กองทัพได้เคลื่อนออกประจำจุดต่างๆ ที่กำหนดไว้ พล.อ.เกษตร โรจนนิล ออกจากกองทัพอากาศ สมทบกับ พล.อ.สุจินดา คราประยูร พล.ร.อ.ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ และ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ออกแถลงการณ์กับประชาชน โดยให้เหตุผลในการยึดอำนาจครั้งนั้นว่า เนื่องจากพฤติการณ์ฉ้อราษฎร์บังหลวงของคณะผู้บริหารประเทศ ที่แสวงหาผลประโยชน์แก่ตัวเองและพวกพ้อง อีกทั้งข้าราชการการเมืองบางคนยังได้ใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงข้าราชการประจำผู้ซื่อสัตย์สุจริต ผู้ไม่ยอมตกเป็นเครื่องมือนักการเมือง ประการต่อมาคือรัฐบาลกระทำตัวเป็นเผด็จการรัฐสภา ทำลายสถาบันทางทหาร ซึ่งนับเป็นสถาบันข้าราชการประจำเพียงสถาบันเดียวที่ไม่ยอมตกอยู่ใต้อิทธิพลทางการเมือง และประการสุดท้ายที่ค่อนข้างจะเป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงนั้น คือ การบิดเบือนคดีล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ !

เหตุดังกล่าวเนื่องมาจาก เมื่อปี 2525 พล.ต.มนูญ รูปขจร และพรรคพวก ได้บังอาจคบคิดวางแผนทำลายล้างราชวงศ์จักรีเพื่อล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ เปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไปสู่รูปแบบที่ตนเองและคณะได้กำหนดไว้ แต่ไม่สำเร็จและถูกจับกุมในที่สุด แต่กลับได้รับการช่วยเหลือจากผู้มีอิทธิพลทางการเมืองให้ได้รับการประกันตัวจนสามารถก่อความไม่สงบได้อีกถึง 3 ครั้ง ครั้งที่นับเป็นการกบฏคือ กบฏทหารนอกราชการเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2528

ซึ่งภายหลังจากการออกแถลงการณ์ดังกล่าว รสช. ก็เดินหน้ายึดทรัพย์นักการเมือง ทว่ารัฐบาลที่มีอายุเพียง 1 ปีของ รสช. ก็ต้องประสบกับอุปสรรคในการเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยจากประชาชนที่ไม่ต้องการให้มีการให้ใช้ร่างรัฐธรรมนูญที่มีเนื้อหารับใช้การสืบทอดอำนาจของรัฐบาล รสช. อันนำมาสู่การชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองที่กลายเป็นชนวนเหตุของเหตุการณ์พฤษภาทมิฬในเวลาต่อมา

การปฏิวัติครั้งสุดท้าย?

กลับมาสู่การปฏิวัติรัฐประหารที่เกิดขึ้นสดร้อนๆ บรรยากาศแห่งความอึมครึมเกิดขึ้นตลอดทั้งวันอังคารที่ 19 กันยายน และนับเป็นการปฏิวัติที่แปลกที่สุดในโลกเมื่อประชาชนพากันโทรศัพท์แจ้งข่าวกันตลอดทั้งวันว่า ทหารจะปฏิวัติ แต่สถานการณ์ก็ยังสับสนว่า ฝ่ายไหนจะเป็นผู้กระทำ จนกระทั่งเวลา 22.15 น. กลายเป็นฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ออกอากาศทางช่อง 9 อสมท. ประกาศภาวะฉุกเฉิน รัฐประหารตัวเอง มีคำสั่งปลด พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกออกจากตำแหน่ง พร้อมกับมีคำสั่งให้มารายงานตัวต่อ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษาการนายกรัฐมนตรี โดยได้แต่งตั้ง พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้รับผิดชอบในสถานการณ์ฉุกเฉิน

เวลา 22.30 น. ทหารจำนวนหนึ่งได้บุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล พร้อมด้วยรถถังประมาณ 10 คัน และรถฮัมวี่ 6 คัน กระจายกำลังเข้าควบคุมตามจุดต่างๆและให้ตำรวจสันติบาลและสื่อมวลชนออกจากทำเนียบรัฐบาล โดยทหารทั้งหมดมีสัญญลักษณ์ปลอกแขนสีเหลือง

จนกระทั่งเวลา 23.00 น.คณะนายทหารภายใต้การนำของ พล.อ.สนธิ ผู้บัญชาการทหารทุกเหล่าทัพ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้มอบหมายให้พล.ต.ประพาส ศกุนตนาถ ออกมาอ่านคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ฉบับที่ 1 ว่า ได้เข้าควบคุมสถานการณ์ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครไว้ได้หมดแล้ว และไม่ได้มีการขัดขวางจากฝ่ายทหารที่สนับสนุนพ.ต.อ.ทักษิณจึงขอประชาชนให้ความร่วมมือ และนับเป็นประกาศคณะปฏิวัติที่สุภาพที่สุดด้วย เมื่อมีท้ายแถลงการณ์ด้วยว่า "ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้ด้วย"

จากนั้นคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ได้ประกาศกฎอัยการศึกและยกเลิกคำสั่งประกาศภาวะฉุกเฉินของ พ.ต.ท.ทักษิณพร้อมเข้าเฝ้ากราบบังคมทูลรายงานสถานการณ์ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

ทั้งนี้มีรายงานว่า หลังจากที่ประชาชนทราบเหตุการณ์ว่า ทหารได้ทำรัฐประหารซ้อนยึดอำนาจจากรัฐบาลทักษิณเรียบร้อยแล้ว ประชาชนจำนวนมากได้ออกจากบ้านมาแสดงความยินดี เช่นเดียวกับประชาชนที่ใช้รถสัญจรผ่านไปมาตามเส้นทางที่มีรถถังตั้งอยู่ได้ลงจากรถมาโบกมือ ไชโยโห่ร้องให้กับทหาร พร้อมทั้งขอถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาตินั้นจะนิยมการถ่ายรูปคู่กับทหารเป็นอย่างมาก ส่วนสถานการณ์ใกล้กับบ้านจันทร์ส่องหล้าของพ.ต.ท.ทักษิณ ในช่วงนั้น ทั้งบริเวณปากซอยจรัญสนิทวงศ์ 69 และ 71 และรวมไปทั้งซอยจรัสลาภ ถนนสิรินธร มีทหารจาก ร.1 พัน 1 รอ.ประมาณ 30 นาย สวมชุดพรางอาวุธครบมือ พร้อมรถยีเอ็มซีจอดอยู่ ได้ตั้งจุดตรวจโดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจร่วมตรวจด้วยอีกซอยละ 2 นาย พร้อมกันไม่ให้ผู้สื่อข่าวเข้าไปด้านใน

จากนั้นคณะปฏิรูปฯได้ออกมาแถลงการณ์ออกมาเป็นระยะๆ ถึงความจำเป็นในการเข้ายึดอำนาจเนื่องจากรัฐบาลทักษิณได้สร้างความแตกแยกขึ้นในบ้านเมือง มีการทุจริตประพฤติมิชอบอย่างกว้างขวาง หน่วยงาน องค์กรอิสระ ถูกครอบงำทางการเมือง ไม่สามารถสนองตอบเจตนารมณ์ตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเกิดปัญหาและอุปสรรคหลายประการ ตลอดจนหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแห่งองค์พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่เคารพเทิดทูนของปวงชนชาวไทยอยู่บ่อยครั้ง

นอกจากนั้นคณะปฏิรูปฯได้ประกาศจะให้มีการปฏิรูปการเมืองเกิดขึ้นโดยเร็ว พร้อมเรียกร้องให้นิสิต นักศึกษา ปัญญาชน ซึ่งเป็นพลังบริสุทธิ์ ร่วมเสนอแนวทางการพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมายังสำนักงานเลขานุการกองทัพบก

ปิดฉากรัฐบาลทรราชที่มาจากการเลือกตั้ง และยุติบทสุดท้ายของ "ระบอบทักษิณและลิ่วล้อ"

การเมืองไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง


การเมืองไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

การเมืองไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ยุคที่ 1

การเมืองไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ถึงยุคปัจจุบัน
       อาจกล่าวได้ว่า นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.
2475 ถึง พ.ศ.2545 เป็นระยะเวลา 70 ปี ของพัฒนาการของการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยเราสามารถแบ่งการเมืองการปกครองในช่วงระยะเวลาดังกล่าวออกได้เป็น 5 ยุคสำคัญ คือ ยุคที่หนึ่ง ยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ.2475 – พ.ศ.2490)
เป็นยุคของความขัดแย้งระหว่างคณะราษฎรกับกลุ่มผู้ปกครองเดิม อันประกอบไปด้วยกลุ่มเจ้าและพวกขุนนาง และความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในคณะราษฎรด้วยกันเอง และสถานการณ์ของสงครามโลกครั้งที่ 2
ในระยะห้าปีแรกของการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ ปรากฏว่ามีเหตุการณ์เกิดขึ้นหลายเหตุการณ์ อันมีผลนำไปสู่ความคลอนแคลนของรัฐบาล เหตุการณ์สำคัญประการหนึ่ง ได้แก่ กรณีการนำเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ เมื่อ พ.ศ.2476 กล่าวคือ ในขณะที่มีการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น ได้มีประกาศของคณะราษฎรซึ่งระบุถึงนโยบาย ประการ
นายปรีดี ได้ยกร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติขึ้นจากนโยบายข้อสาม เค้าโครงเศรษฐกิจนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มาก ว่ามีลักษณะแนวทางแบบสังคมนิยม ทำให้เกิดการแตกแยกกันในรัฐบาล จนถึงกับต้องมีการปิดการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ส่วนนายปรีดี ต้องเดินทางออกจากประเทศไทย อย่างไรก็ตาม คณะทหารภายใต้การนำของนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาได้ทำการยึดอำนาจรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2476 แล้วตั้งตัวเองเป็นรัฐบาล
วันที่ ตุลาคม พ.ศ.2476 ได้เกิดการกบฏของกลุ่มนายทหารและข้าราชการในต่างจังหวัด ภายใต้การนำของพระองค์เจ้าบวรเดช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยประกาศว่า ต้องการให้ประเทศชาติมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม การกบฏครั้งนี้ก็ถูกปราบปรามลง เจ้านายหลายพระองค์ต้องเสด็จนิราศไปประทับยังต่างประเทศ มีหลายคนในคณะกบฏต้องรับโทษจำคุก หลังจากนั้นไม่ถึงสองปี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปประทับอยู่ในประเทศอังกฤษ และทรงสละราชสมบัติ คณะราษฎรจึงได้ถวายราชบัลลังก์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อานันทมหิดล ในเวลาต่อมา
ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2481 พระยาพหลพลพยุหเสนาก็ได้ลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากสุขภาพไม่ดีจึงทำให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ดำรงตำแหน่งต่อมา หลังจากนั้นทหารเริ่มมีอำนาจมากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ.2481 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2487จอมพล ป. ได้เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นเวลาห้าปีครึ่ง ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการสร้างประวัติศาสตร์ของเมืองไทย นโยบายที่สำคัญที่สุดคือ รัฐนิยม ซึ่งเป็นนโยบายรักชาติ แสดงออกโดยการรณรงค์ต่อต้านคนจีน และนโยบายสงครามที่เป็นมิตรกับญี่ปุ่นพร้อมกับประกาศสงครามกับประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา นโยบาย ดังกล่าวมีตั้งแต่โครงการรวมชาติ การสร้างเอกลักษณ์ของชาติ การสร้างความเป็นชาตินิยมทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม และความสนใจต่อผลประโยชน์ของสาธารณะ
นโยบายที่อันตรายที่สุดของจอมพล ป. ก็คือการตัดสินใจร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง การตัดสินใจประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา และอังกฤษเกิดจากเหตุผลหลายประการ ที่สำคัญที่สุดคือ ความกดดันจากสถานการณ์และอาจจะมาจากการคาดการณ์ผิดคิดว่าญี่ปุ่นจะชนะสงคราม ดังนั้นการเข้าร่วมกับญี่ปุ่นก็เหมือนกับการเข้าร่วมกับผู้ชนะซึ่งประเทศไทยอาจได้ผลประโยชน์ร่วมกับผู้ชนะ แต่ว่าการตัดสินใจของจอมพล ป. กลายเป็นข้อผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงและทำให้ต้องเสียตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังจากสงครามโลกสิ้นสุดลง
เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ประเทศไทยซึ่งเป็นพันธมิตรของญี่ปุ่นก็แพ้สงครามด้วย แต่มีปัจจัยสองข้อที่ทำให้ผู้นำไทยสามารถจัดการกับสถานการณ์เพื่อหลุดพ้นจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้ ปัจจัยสองประการนี้คือ
(1) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ซึ่งเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตันปฏิเสธที่จะส่งสาส์นประกาศสงครามให้กับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
(2) ได้มีการจัดตั้งขบวนการเสรีไทยซึ่งประกอบด้วยคนไทยที่อยู่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการกู้เอกราชของชาติ
ขบวนการนี้ตั้งขึ้นโดย ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ซึ่งได้ร่วมมือกับนายปรีดี พนมยงค์ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งได้รวบรวมกำลังคนภายในประเทศ และร่วมมือกับฝ่ายพันธมิตรทั้งหลาย
ดังนั้นเมื่อสงครามเสร็จสิ้นลง นายปรีดีจึงออกประกาศซึ่งเห็นชอบโดยเอกฉันท์ โดยสภาผู้แทนแห่งชาติ โดยมีเนื้อความทำนองว่า
คนไทยไม่เห็นด้วยกับการประกาศสงครามและกระทำการอันเป็นศัตรูต่อ สหประชาชาติ (และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งกระทำการแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) ได้ประกาศในนามของประชาชนชาวไทยว่า การประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและอังกฤษนั้นเป็นโมฆะ และไม่ได้ผูกมัดประชาชนชาวไทย
การเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นการเคลื่อนไหวที่รอบคอบ เพื่อการช่วยชาติให้หลุดพ้นจากผลเสียซึ่งเกิดจากการกระทำของจอมพล ป. หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2488รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา นายเบิรนส์ (Byrnes) ได้กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับเรื่องนี้และสรุปว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ถือว่าประเทศไทยเป็นศัตรู แต่เป็นประเทศที่จะต้องได้รับการปลดปล่อยจากศัตรู และสหรัฐอเมริกาหวังว่าประเทศไทยจะกลับสู่สภาพเดิมในหมู่ประชาชาติทั้งปวงโดยเป็นประเทศเสรี มีอธิปไตยและมีเอกราช
ดังนั้นโดยการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาทำให้ประเทศไทยสามารถหลีกเลี่ยงชะตากรรมเหมือนดังเช่นของญี่ปุ่นและเยอรมนีอย่างหมิ่นเหม่ อันที่จริงได้มีการพูดถึงการสลายกองทัพไทยในแบบเดียวกับญี่ปุ่นและเยอรมนีเพื่อปูทางให้เกิดรัฐบาลแบบประชาธิปไตยขึ้นในประเทศไทย
ในส่วนของการเมืองภายใน ประเทศไทยได้โผล่ขึ้นมาจากสงครามในลักษณะของประเทศที่มีรัฐบาลใหม่คือ รัฐบาลพลเรือนซึ่งนำโดยพวกเสรีนิยม เช่น นายปรีดี พนมยงค์ และ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ส่วนความรุ่งเรืองของทหารชาตินิยมและการรวมชาติของจอมพล ป. ได้ตกต่ำลง
ท่ามกลางสภาพทางการเมืองในลักษณะดังกล่าวนั้นทำให้โอกาสของพวกเสรีนิยมในการที่จะสร้างรัฐบาลระบอบประชาธิปไตยดูเหมือนจะแจ่มใส เพราะว่าอำนาจทหารถูกจำกัดลง อย่างไรก็ตาม พวกเสรีนิยมก็ไม่สามารถจะพัฒนาระบอบประชาธิปไตยได้ดีเท่าที่ควร และนำไปสู่การรัฐประหารเมื่อวันที่ พฤศจิกายน พ.ศ.2490
นายกรัฐมนตรี
พ.ศ.
2475 – 2490


ชื่อ
ช่วง
ความนานของสมัย
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
มิ.ย. 2475 – มิ.ย. 2476
ปี
พระยาพหลพลพยุหเสนา
มิ.ย. 2476 – ธ.ค. 2481
ปี เดือน
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ธ.ค. 2481 – ก.ค. 2487
ปี เดือน
นายควง อภัยวงศ
ส.ค. 2487 – ส.ค. 2488
ปี
นายทวี บุณยเกต
ส.ค. 2488 – ก.ย. 2488
สัปดาห์
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
ก.ย. 2488 – ม.ค. 2489
เดือน
นายควง อภัยวงศ์
ม.ค. 2489 – มี.ค. 2489
เดือน
นายปรีดี พนมยงค์
มี.ค. 2489 – ส.ค. 2489
เดือน
หลวงธำรง นาวาสวัสดิ์
ส.ค. 2489 – พ.ย. 2490
เดือน

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

บทเรียนประเทศไทย 6ปี-รัฐประหาร19ก.ย






ครบรอบ 6 ปี รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 บทเรียนและที่มาที่ไปของรัฐ ประหารดังกล่าวคืออะไร เป็นเรื่องที่น่าสนใจ

รัฐประหารแก้ปัญหาการเมืองได้หรือไม่ หรือกลับยิ่งสร้างแนวโน้มของโอกาสที่จะเกิดรัฐประหารขึ้นอีก เป็นคำถามที่ท้าทายการถกเถียง

ลองฟังจากนักวิชาการที่ติดตามปัญหาการเมืองไทยมาตลอด

รศ.สิริพรรณ นกสวน สวัสดีอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า รัฐประหารในปี 2549 แตกต่างจากครั้งอื่น

เพราะได้เปิดตัวผู้เล่นทางการเมืองที่เคยอยู่เบื้องหลังมาปรากฏให้สังคมรับรู้ชัดเจนขึ้น

ทำให้เกิดคำถามที่ต่างไปจากเดิม ความเปลี่ยนแปลงตลอด 6 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ แต่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีน้ำหนัก

กลายเป็นว่าการรัฐประหารถูกทำให้เป็นคนละขั้วกับการเลือกตั้ง และแนวโน้มความต้องการเรียกร้องของประชาชนให้เคารพสิทธิการเลือกตั้ง โดยไม่เอาการรัฐประหารมาล้มล้างเจตนารมณ์ที่เกิดจากการเลือกตั้งจะรุนแรงและชัดเจนขึ้น

"สิ่งหนึ่งที่ยังไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงคือ การเมืองถูกกำหนดโดยการต่อรองของกลุ่มคนชั้นนำอยู่เช่นเดิม ประชาชนเห็นภาพเหล่านั้นชัดเจนขึ้น ทำให้เกิดการเรียกร้องเข้าไปมีส่วนในพื้นที่ต่อรองด้วย ถือว่าเป็นการเปลี่ยนภูมิทัศน์ในการแข่งขันทางการเมืองที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา" รศ.สิริพรรณกล่าว

นักวิชาการรัฐศาสตร์จากจุฬาฯยังกล่าวว่า อยากเห็นการเปิดพื้นที่การต่อรองและการแสดงความเห็นอย่างจริงจัง

ไม่ใช่แค่การจัดเสวนา ประชุม คณะกรรมการอิสระเข้ามาแสดงความคิดเห็นและรับฟังเท่านั้น ภาครัฐควรเข้ามามีบท บาทด้วย เช่น การทำประชามติ ประชาพิจารณ์ ที่มีผลบังคับใช้จริง ครอบคลุมตามกระบวนการมาตรฐานสากล 



เพื่อช่วยระบายความคับข้องใจของประชาชน ไม่ใช่แค่การชุมนุมที่ท้องถนน การประท้วงที่ไม่ได้ทำให้เกิดการแก้ไขในระยะยาว และอาจกลายเป็นข้ออ้างในการทำรัฐประหารในอนาคตด้วย ทั้งนี้ ทุกฝ่ายควรเคารพกติกาประชาธิปไตย ไม่ใช้ความรุนแรง ให้การเมืองและสังคมเดินหน้าต่อไปได้

อาจจะช้า เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าการเมืองไทยยังถูกชนชั้นนำผูกขาด แต่การเติบโตของคนชั้นกลางจะเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางการเมืองเหล่านี้ผ่านระบบเศรษฐกิจ และต้องการพื้นที่ต่อรองผลประโยชน์มากขึ้น ทำให้เกิดการกระจายอำนาจที่ไม่เกี่ยวกับรัฐประหาร

อีกมุมหนึ่ง จาก ปกรณ์ ปรียากร อดีต คณบดี คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ให้ทรรศนะว่าในโลกประชาธิปไตย ไม่มีใครต้องการรัฐประหารอีก

แต่เหตุผลที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) อ้างในการรัฐประหาร สะท้อนให้เห็นประเด็นที่สังคมต้องระมัดระวังและแก้ไขให้ได้ 3 เรื่องด้วยกัน

1.การเป็นประชาธิปไตย ต้องรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง 2.พฤติกรรมของนักการเมืองที่คดโกงแผ่นดิน ควรได้รับการตระหนักอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ใช่วิธีรัฐประหาร เพราะรัฐบาลไม่อาจแก้ไขพฤติกรรมอย่างนั้นได้ มิหนำซ้ำคณะบุคคลที่ทำการรัฐประหาร อาจจะประ พฤติซ้ำรอยกับบุคคลที่ถูกกล่าวอ้าง

และ 3.ควรตระหนักถึงคตินิยมที่ว่า "โกงไม่เป็นไรขอให้ทำงานได้ก็แล้วกัน" เป็นการส่งเสริมให้คนโกงมีความเหิมเกริม ก่อให้เกิดความวิบัติของสังคมการเมือง

"นักการเมืองไม่ควรปฏิเสธการถูกตรวจสอบจากสังคม ต้องกล้าที่จะยอมรับผิด ไม่เช่นนั้นรัฐประหารจะกลับมาอีก" ปกรณ์กล่าว

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระ ด้านรัฐศาสตร์ กล่าวว่า ผู้ที่สนับสนุนการรัฐประหารหรือมองว่าเป็นเรื่องปกติจะมีพื้นที่พูดน้อยลง

แต่ความรู้สึกว่ารัฐประหารไม่ใช่เครื่องมือในการแก้ปัญหาทางการเมืองมีพื้นที่มากขึ้น เนื่องจากการรัฐประหาร 2549 จบลงด้วยการล้มเหลวก็ว่าได้ ทุกอย่างที่ประกาศไว้ว่าเป็นเหตุผลของการรัฐประหารจนถึงตอนนี้ยังไม่เกิดขึ้นเลย

"ความล้มเหลวของการรัฐประหาร 2549 คนเห็นตรงกัน แต่ถึงขั้นมองว่าการรัฐประหารเป็นเรื่องที่ผิดหรือเปล่ายังไม่แน่ คิดว่าการเกิดรัฐประหารอย่าง 2549 คงจะยากขึ้นแล้ว" ศิโรตม์กล่าว

ศิโรตม์ยังกล่าวอีกว่า ความคิดเห็นเรื่องประชาธิปไตยนั้นยังไม่ได้เติบโตขึ้นเท่าที่ควร อาจมีคนไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร แต่ก็ไม่ได้ยึดว่าประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่จะทำให้สังคมดีขึ้น

สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้คือ พรรคเพื่อไทยคิดว่าการที่ประชาชนยอมรับในตอนนี้ เป็นผลมาจากการที่เขาไม่พอใจระบบการเมืองหลังปี 2549

"เพราะฉะนั้นรัฐบาลพรรคเพื่อไทยพยายามทำให้พรรคเป็นองค์กรที่ทำให้เกิดการปฏิรูปมากขึ้น ประชาชนก็ไม่ได้เลือกฝ่ายนี้โดยไม่มีเงื่อนไข แต่เลือกเพราะมีคาดความหวังที่อยากเห็นประชาธิปไตยอยู่ แต่พรรคเพื่อไทยดูจะไม่ได้สนใจเท่าไร" ศิโรตม์กล่าว

สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า สถานการณ์ของสังคมไทยก่อนและหลังเหตุการณ์รัฐประหารเป็นต้นมา เป็นช่วงความขัดแย้งทางการเมืองที่พยายามจะผูกขาดอำนาจ เป็นการต่อสู้ที่พยายามโค่นล้ม อีกฝ่าย เห็นได้จากสโลแกน ประเภท สงครามครั้งสุดท้าย และการใช้ความรุนแรงอย่างมาก พอถึงปัจจุบันสถานการณ์นี้ค่อยๆ เปลี่ยนไป

"สถาบันการเมืองเริ่มยอมรับว่าเป็นระบบที่มาจากการเลือกตั้งที่จะต้องมีอยู่ต่อไป รวมถึงการยอมรับในระบบคนเสื้อแดงที่จะต้องเกิดขึ้นมา

"เดิมคิดว่าถูกคนจ้างมา ตอนนี้เป็นกลุ่มพลังในสังคมที่ไม่อาจปฏิเสธได้" อาจารย์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ชี้

สมชายกล่าวว่า การเดินหน้าต่อไปของสังคมนั้นถือว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้น เสียงที่สุดขั้ว ถูกทำให้เบาลง ทุกฝ่ายเดินเข้าหากัน อยู่ในช่วงต่อรองและรับรู้เข้าใจว่าจะรับได้บางส่วน

เช่น สถาบันทางการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งก็รู้ว่าได้รับระบบการเลือกตั้งแน่นอน ขณะเดียวกัน ในเมื่อยังไม่สามารถสถาปนาอำนาจนำทางการเมืองได้อย่างเต็มที่ก็ต้องยอมรับอำนาจบางอย่างที่มากำกับนักการเมืองอยู่ เช่นองค์กรอิสระ

"ผมมองว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงที่จะค่อยๆ เกิดขึ้น อีกทั้งการรัฐประหาร ปี 2549 ก็เป็นบทเรียนให้คนที่อยู่ในแวดวงทหารได้เรียนรู้ว่ายิ่งทำรัฐประหาร สถานะของทหารจะอยู่ได้ยากยิ่งขึ้น กระทั่งรัฐบาลที่มาภายหลังรัฐประหารได้หายไปจากความทรงจำของประชาชน

"หากรัฐประหารอีกครั้งจะต้องถูกคัดค้านแน่นอน ไม่ใช่เพียงคนเสื้อแดงเท่านั้น" สมชายกล่าวทิ้งท้าย

นั่นคือทรรศนะที่มีต่อประวัติศาสตร์หน้าสำคัญของประเทศ อันเป็นการ "ก้าวพลาด" ครั้งใหญ่ที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันเก็บรับเป็นบทเรียน

เพื่อมิให้เกิดขึ้นอีก

รัฐประหารในไทย


การเกิดรัฐประหารมี12 ครั้ง

  1. รัฐประหาร 1 เมษายน พ.ศ. 2476 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา
  2. รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี
  3. รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี
  4. รัฐประหาร 6 เมษายน พ.ศ. 2491 คณะนายทหารกลุ่มที่ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 จี้บังคับให้ นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมอบตำแหน่งต่อให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
  5. รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 นำโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
  6. รัฐประหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี
  7. รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี (ตามที่ตกลงกันไว้)
  8. รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 นำโดย จอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
  9. รัฐประหาร 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี
 10. รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี
 11. รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี
 12. รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ: บางตำราถือการปิดสภา งดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 เป็นรัฐประหารครั้งแรก และไม่แยกเหตุการณ์เมื่อ พ.ศ. 2491 เป็นรัฐประหารอีกครั้ง



วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556


สาเหตุของการรัฐประหารสืบเนื่องจากความแตกแยกกันระหว่างกลุ่มทหาร ที่นำโดย พล.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก กับ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ ที่ค้ำอำนาจของรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม
การเลือกตั้งทั่วไปที่เกิดขึ้นในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ไม่อาจทำให้ประชาชนยอมรับในผลได้ เนื่องจากเป็นการเลือกตั้งที่นับได้ว่ามีการโกงกันมากที่สุดในประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่ ใช้เครื่องบินโปรยใบปลิวโจมตีฝ่ายตรงข้าม ข่มขู่ชาวบ้าน ประชาชน ให้เลือกแต่ผู้สมัครของพรรคเสรีมนังคศิลาของรัฐบาล หรือ การเวียนเทียนมาลงคะแนน การสลับหีบบัตร การแอบหย่อนบัตรคะแนนเถื่อนเข้าไปในหีบ และต้องใช้เวลานับคะแนนกันนานถึง 7 วัน ด้วยกัน ผลการเลือกตั้ง พรรคเสรีมนังคศิลา ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เสียงข้างมาก ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ พรรคฝ่ายค้านคู่แข่งได้เพียง 5 ที่นั่ง เท่านั้น
2 มีนาคม นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประชาชนร่วมกันเดินขบวนประท้วงการเลือกตั้ง มีการลดธงเหลือแค่ครึ่งเสาเป็นการไว้อาลัย และเรียกร้องให้ พล.อ.ท.มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ ซึ่งเป็น ส.ส.สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา ลาออกจากตำแหน่งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จอมพล ป. นายกรัฐมนตรี สั่งประกาศภาวะฉุกเฉิน และแต่งตั้งให้ พล.อ.สฤษดิ์ เป็นผู้ปราบปรามการชุมนุม แต่เมื่อฝูงชนเดินทางมาถึงสะพานมัฆวานรังสรรค์แล้ว พล.อ.สฤษดิ์กลับเข้าร่วมเดินขบวนกับประชาชนด้วย และเมื่อถึงหน้าทำเนียบรัฐบาลได้เป็นผู้เปิดประตูทำเนียบ นำพาประชาชนเข้าพบ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อได้เจรจาจนได้ข้อสรุปว่า จอมพล ป. ยอมรับว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ชอบมาพากลและจะจัดการเลือกตั้งขึ้นใหม่ จึงได้พูดผ่านโทรโข่งขอให้ผู้ชุมนุมสลายตัวไปอย่างสงบ และขอให้อัญเชิญธงขึ้นสู่ยอดเสาตามปกติ ซึ่งก็ได้เป็นไปตามอย่างที่ พล.อ.สฤษดิ์ ร้องขอทุกประการ ซึ่งการเดินขบวนประท้วงครั้งนี้นับเป็นการชุมนุมทางการเมืองเป็นครั้งแรกของประชาชนชาวไทยนับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา
สภาพโดยทั่วไปแล้วในเวลานั้น สภาพบ้านเมืองตกอยู่ในภาวะของความวุ่นวาย นักเลง อันธพาล อาละวาดป่วนเมืองราวกับไม่เกรงกฎหมาย ทั้งนี้ เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า ที่เหล่าอันธพาลสามารถกระทำการได้โดยได้ใจนั้น เป็นเพราะมีตำรวจ โดย พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจให้การสนับสนุนอยู่ และจากนั้นมา ทหารและตำรวจก็เกิดความแตกแยกกัน โดยไฮปาร์คโจมตีกันบนลังสบู่ที่ท้องสนามหลวงสลับกันวันต่อวัน ในบางครั้ง ทหารชั้นประทวนก็ยกพวกล้อมสถานีตำรวจจนเกิดเหตุทำร้ายร่างกายตำรวจบ้าง แต่ก็ไม่เกิดเหตุรุนแรงมากไปกว่านั้น
14 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันครบรอบวันเกิด 60 ปี ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม พล.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้าอวยพรวันเกิดและนำลูกสุนัขตัวหนึ่งมอบให้เป็นของขวัญ พร้อมกล่าวว่าจะจงรักภักดีต่อจอมพล ป. เช่นเดียวกับสุนัขตัวนี้ เพื่อเป็นการสยบความขัดแย้ง
15 กันยายน พล.อ.สฤษดิ์ และคณะนายทหารในบังคับบัญชา ได้มีแถลงการณ์ขอให้ จอมพล ป. ลาออก และ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ลาออกจากตำแหน่งทั้งหมด ซึ่งหลังจากแถลงการณ์อันนี้ออกมาแล้ว มีรายงานที่เชื่อถือได้ว่า สมาชิกพรรคเสรีมนังคศิลาเสนอให้ จอมพล ป. จัดการอย่างเด็ดขาดกับ พล.อ.สฤษดิ์ และกลุ่มทหารในวันพรุ่งนี้ เท่ากับเป็นการบีบบังคับให้ พล.อ.สฤษดิ์ ตัดสินใจอย่างแน่นอนในการทำรัฐประหารเพื่อเป็นการตัดหน้า